EQ HUMAN: โดม He, Art, Psychotherapy กับศิลปะบำบัด ศาสตร์แห่งความสร้างสรรค์ กับภาพสะท้อนทางอารมณ์
“การที่เราเลือกที่จะไม่เติมอะไรลงไปเพิ่มในภาพวาด
มันก็เป็นการสร้างสรรค์อย่างหนึ่ง มันก็เป็นวิธีการทํางานศิลปะอย่างหนึ่ง
ซึ่งมันก็จะมีผลต่อสิ่งที่จะสื่อออกไป”
คือสิ่งที่คุณโดม 'โดม ธิติภัทร” พูดเมื่อถามถึงความคิดของเขากับความหมายของคำว่า Painting ที่ไม่มีจุดสิ้นสุด คุณโดมเป็นนักจิตวิทยาแล้วก็เป็นนักศิลปะบําบัดชาวไทยที่มีงานบรรยาย Workshop หลายที่ การจบการศึกษาด้านจิตวิทยา และความรักในการทำงานศิลปะทำให้คุณโดมเลือกที่จะดึงเอาทั้งของส่วนมาเป็นสิ่งที่เขาทำในปัจจุบันกับศาสตร์ที่เรียกว่า Art Therapy หรือ ศิลปะบำบัด และการเปิดเพจ He, Art, Psychotherapy.
“ศิลปะบำบัด” เป็นอะไรที่คนอาจจะเคยได้ยินแบบประปรายอยู่แล้วแต่ว่าไม่ได้ใส่ใจว่าจริงๆ มันคืออะไรอยากให้คุณโดมอธิบายหน่อยว่า “Art Therapy” คืออะไร แล้วทําไมคุณโดมถึงสนใจดึงเอาศาสตร์ตัวนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานที่คุณโดม
“ความเข้าใจของคนหลายๆคนผมมองว่าอย่างงี้นะเวลาพูดถึงศิลปะบําบัดเนี่ยอ๋อก็มาวาดรูปแล้วก็ผ่อนคลายเพราะการทํางานศิลปะอยู่แล้วบ้าง วาดรูปเนี่ยมันก็เหมือนเป็นกิจกรรมที่มันสร้างความผ่อนคลายและถ้าทําไปจะทําให้เราแฮปปี้ ทําให้เรารู้สึกดีขึ้นเอง อันนี้คือความเข้าใจของคนกลุ่มใหญ่ๆที่มองว่าเขามีไอเดียนี้อยู่ แล้วก็ไอเดียที่สองก็คือ การมาทําศิลปะบําบัดก็น่าจะแบบว่า เรามาวาดรูปวาดเสร็จปุ๊บเราก็ยื่นรูปให้นักศิลปะบําบัดดูแล้วให้นักบําบัดวิเคราะห์ว่าไหนดูซิฉันผิดปกติตรงไหนหรือเปล่า แล้วภาพนี้มันบ่งบอกว่าฉันเป็นคนยังไงหรือเปล่าผมว่าอันนี้จะเป็นสองไอเดียหลักๆ ที่คนกลุ่มใหญ่เข้าใจว่าศิลปะบําบัดคือแบบนั้น จริงๆ ก็ต้องบอกว่ามันก็ถูกส่วนหนึ่ง สองสิ่งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในการทําศิลปะบําบัด แต่ว่าพาร์ทที่เหลือนอกจากนี้มันมีอีกเยอะมากที่มันไม่ใช่แค่สองสิ่งนี้”
“หนึ่งคือนักบําบัดจะต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อทําให้ผู้มารับบริการรู้สึกปลอดภัย ผมเจอหลายครั้งยกตัวอย่างเช่นมันไม่ใช่ทุกคนที่เข้ามาแล้วจะสามารถทํางานศิลปะได้เลยเพราะว่าผมว่าหลายๆคนอาจจะเคยมีประสบการณ์พอจะวาดศิลปะที่มีคนมานั่งดูจริงๆ มันไม่กล้าวาด เพราะว่ามันยังไม่เกิดความรู้สึกสบายใจหรือว่าปลอดภัย เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่ต้องเกิดขึ้นคือ อย่างน้อยการทําบําบัด 1 ความรู้ปลอดภัยที่ต้องเกิดขึ้นเพื่อที่จะสามารถ ให้ผู้รับบริการ พอเขารู้สึกปลอดภัย เขาสามารถเปิดเพื่อสํารวจ ค่อยๆ ลงลึกพอลงลึก มันอาจจะเจอเรื่องราวที่มันหนัก ที่มันน่ากลัว ที่มันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ยาก ซึ่งการทํางานศิลปะบําบัดมันก็จะมาแต่เรื่องเหล่านี้ถ้าไม่ตีความแบบว่า ถ้านักบำบัดไม่ตีความแล้วอย่างนี้ทํางานกันอย่างไร ศิลปะบําบัดคืออย่างที่บอกว่าเราสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อค่อยๆสํารวจไปด้วยกัน เราไม่ได้มีนักศิลปะบําบัดไม่สามารถผูกขาดความหมายของภาพศิลปะของใครได้ ไม่ใช่ว่าเราร่วมรู้ความจริงทุกอย่างแล้วบอกว่า อ๋อ ว่าแบบนี้ก็แปลว่าคุณเป็นคนแบบนี้ ว่าแบบนี้แปลว่าคุณน่าจะซึมเศร้านะ คืออันนี้แปลว่านั่นนี่ เหมือนเราเป็นผู้ผูกขาดความหมาย แต่จริงๆ แล้วความหมายหน้าที่ของนักบําบัดคือค่อยๆช่วยให้ผู้มารับบริการหาความหมายในนั้น จัดการสร้างพื้นที่ปลอดภัยแล้วก็สํารวจไปร่วมกัน เช่นการตั้งคําถามหรือชวนพูดคุยคือในการทําศิลปะบําบัดเนี่ยเราไม่ได้วาดรูปอย่างเดียว เราก็ทั้งวาดรูปแล้วก็พูดคุยใช้หลายหลายเครื่องมือในการทํางานเนาะ คนที่มาก็จะมีประเด็นมาก่อนแล้วว่าเอ้ยเช่น ประเด็นความสัมพันธ์ เรื่องครอบครัวกับพ่อแม่นะ ทางความสัมพันธ์ของพ่อแม่อะไรเงี้ย เขาก็วาดรูปออกมา คือมันก็จะมีการพูดคุยอยู่แล้ว สมมุติเราเห็นรูปเนี้ย เราก็ชวนเขาสํารวจได้ว่า เออ ดูจากเนี้ยผมรู้สึกว่ามันน่าสนใจนะที่คุณให้ความสนใจกับส่วนนี้ของภาพมากเลย ลองเล่าให้ผมฟังหน่อย หรือว่าคุณดูแบบว่า เวลาคุณพูดคุณดูไม่แสดงสีหน้าอะไรเลย น้ําเสียงคุณดูราบเรียบ แล้วคุณก็ไม่พูดถึงความรู้สึกเลย แต่ในภาพนี้เรารู้สึกว่ามันเต็มไปด้วยความรู้สึกมากเลยนะ ไหนลองเล่าให้ผมฟังหน่อย”
ในหลายๆครั้งเราจะพบว่างานศิลปะทำงานกับจิตใต้สำนึกเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นผู้วาด หรือผู้ชม นั่นทำให้ศาสร์แห่งความสร้างสรรค์ และการทำความเข้าใจทางจิตวิทยาถึงผสมผสานกันได้อย่างลงตัว
“จิตใจสำนึกบางทีมันเป็นจินตนาการบางอย่างที่มันถูกกดไว้ แล้วเราไม่รู้สึกว่ามันยังอยู่ แต่การที่เราไม่รู้สึกไม่ได้แปลว่ามันไม่มี แล้วมันก็ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเราในทุกๆวันนี้ เพราะฉนั้นการทำงานกับจิตใต้สำนึกก็เป็นส่วนสำคัญของการทำศิลปะบำบัด แล้วก็ถ้าพูดถึงอีกแง่นึงคือ งานศึกษาหรือว่างานวิจัยช่วงหลังๆเนี่ยเขาก็บอกว่าการสื่อสารทางภาษา และการสื่อสารผ่านศิลปะเนี่ย มันใช้สมองคนละส่วน แล้วการสื่อสารผ่านศิลปะเนี่ยมันเข้าถึงในสมองส่วนที่เป็นความรู้สึกได้ดีกว่าในหลายๆครั้งมันเลยช่วยในเอาเรื่องราวยากๆ ออกมาได้ง่ายกว่า แล้วก็ในการทําศิลปะของมัน หลายๆครั้งมันมี movement การสัมผัส การได้กลิ่น การมองเห็น มันไปช่วยกระตุ้นสมองด้วย”
คุณโดมเคยมีประสบการณ์โดยตรงของการใช้ศิลปะบำบัดกับตัวเองรึเปล่า การทําศิลปะบําบัดได้ช่วยคุณโดมในเชิงไหนบ้าง
“จริงจริงถ้ามองย้อนกลับไปเนี่ยมันจะมีในหลายหลายช่วงชีวิตนะคือเป็นคนมองกลับไปคือสมัยเด็กมันก็ชอบขีดเขียนนะแต่คงไม่ได้ถึงกับว่าเป็น Hobby หมายถึงว่าแบบว่างๆ เบื่อๆ ก็วาดรูปแล้วก็จะมีมันก็จะมีเหตุการณ์นึงแบบว่า คือตอนนั้นไม่รู้ตัวหรอก แต่มองกลับไปก็แบบ อ๋อ มันก็คงจะใช่แหละ ก็คือเหมือนว่าไปเรียน Summer ที่อินเดีย แต่ว่าไปเนี่ย ไปโดยไม่ได้อยากไปเอง ก็คือแม่อยากให้ไปฝึกภาษาไปอยู่ summer school ที่อินเดีย แบบเดือนนึง แล้วตอนนั้นน่าจะประมาณ ม.2 ไปนอนโรงเรียนประจําไปนอนหอด้วย ไปอยู่แบบในชนบทอะ ก็แบบโห คือตอนนั้นไม่รู้ตัวหรอกว่ารู้สึกยังไงแต่ดูแค่แบบไม่ชอบไม่อยากไป แต่พอมองย้อนกลับไปปุ๊บแบบมันคงจะแบบเครียดมันคงจะแบบน่ากลัว แล้วคือตอนนั้นน่ะ เป็นตอนที่เราอะวาดภาพเยอะมาก วาดแบบวาดบนปลอกหมอน วาดลงอะไรอย่างอื่น ซึ่งเออมองย้อนกลับไปเราคิดว่าอันนั้นน่ะก็น่าจะเป็นวิธีการใช้ศิลปะกับความรู้สึกตัวเอง แต่ตอนนั้นเองเราก็ไม่รู้หรอกว่าเราวาดไปทำไม อันนี้เป็นการใช้กระบวนการทางศิลปะมารับมือกับสถานการณ์ที่เราก็ไม่เคยเจอมาก่อน”
ด้วยการที่ศิลปะบำบัดมีองค์ประกอบเป็นการวาดภาพเข้ามาด้วย ไม่ใช่ค่การพูดคุยถึงปัญหาของผู้เข้าบำบัด แบบนี้คุณโดมมีการเข้าหาในเชิงวิเคราะห์ต่องานศิลปะที่เกิดขึ้นใน Session นั้นๆ อย่างไร?
“การทํางานศิลปะคือการโปรเจคโลกภายในออกมาเป็นผลงานหรือเป็นกระบวนการศิลปะ ซึ่งโลกภายในนี้อย่างที่บอกมันก็อาจจะมีพาร์ทของจิตใต้สํานึกอยู่ การที่เราทํางานศิลปะบําบัดใน Session เนี่ย เราก็ต้องดูผลงาน ดูกระบวนการ ดูความสัมพันธ์ ซึ่งในส่วนของความสัมพันธ์เราจะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ดูความสัมพันธ์ของงานผู้วาดกับผลงานที่เขาสร้าง ดูความสัมพันธ์ของผู้วาดกับตัวเราเองคือนักศิลปะบำบัด แล้วก็ดูความสัมพันธ์ของตัวเรานักบําบัดกับผลงานที่เขาสร้าง เช่นงานชิ้นนี้มีความหมายยังไงกัน เราตอนสมองกับมันยังไง เขามีความรู้สึกกับมันยังไง เสร็จแล้วเราก็มาดูว่าผลงานชิ้นนี้มันตอบสนองกับนักศิลปะบำบัดยังไง ทำให้เรารู้สึกอะไร นึกถึงอะไร แล้วอีกส่วนก็คือระหว่างตัวนักบำบัด และตัวผู้วาด ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเขาเป็นยังไง ในระหว่างเขาทำงาน เราในฐานะนักบำบัดรู้สึกอย่างไร หรือเราทำให้เขารู้สึกอย่างไร แล้วมันก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะสังเกต และทำงานเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น”
ศิลปะบำบัดดูมีข้อได้เปลี่ยนในหลายๆ ส่วนจากการบำบัดทั่วไป ทั้งการทำงานกับจิตใต้สำนึก และสมองในส้วนที่สำงานกับความคิดมากกว่าการพูด และอื่นๆ แล้วแบบนี้ศิลปะบำบัดมีข้อจำกัดมีจุดไหนไหมที่อาจจะไม่ได้เหมาะสมสําหรับคนบางคน หรือบางกลุ่ม
“มีประเด็นหนึ่งเป็นประเด็นวงกว้างก่อนละกัน เอาความเข้าใจก่อน ความเข้าใจของคนกลุ่มใหญ่ๆ ในไทยเนี่ยที่มีต่อศิลปะบำบัด ก็คือจะเข้าใจว่าเออก็มาวาดรูป ไม่ต้องไปก็ได้ ทําเองก็ได้ มันก็เป็นความเข้าใจที่ถูกส่วนนึงแล้วก็เป็นส่วนน้อยมากแต่จะใช้จะใช้ว่าเข้าใจผิดก็ได้เออเข้าใจผิดทีนี้พอเข้าใจผิดหรือไม่มีความเข้าใจเนี่ยมันก็กลายเป็นว่าเอ้ยไอ้บริการ หรือว่าทรีตเมนต์การบําบัดศิลปะบําบัด ถ้าความเข้าใจส่วนนี้ไม่ตรงกันกับระหว่างผู้รับบริการ และนักบำบัด ภาพวาดมันก็จะไม่ได้มีผลอะไร”
“แล้วก็อาจจะมีคนที่มีมุมมองบางอย่างเกี่ยวกับศิลปะแบบ ศิลปะมันจะต้องสวยงาม มันจะต้องมีหลักการ ต้องมีเทคนิคนู่นนั่นนี่ ถ้ามีมุมมองแบบนี้แล้วมาบำบัด หนึ่งอาจจะใช้เวลามากเพื่อที่จะกะเทาะมุมมองนี้ออกก่อน แต่ถ้ากะเทาะออกไม่ได้ศิลปะบำบัดก็จะไม่ทำงาน”
“ถ้าเอาแบบข้อจํากัดจริงๆ คือข้อจำกัดด้านร่างกาย เพราะการทำศิลปะบำบัดมันก็ต้องอาศัยอวัยวะ คนที่พิการที่อาจจะมีข้อจํากัดในส่วนนี้ ที่แบบอาจจะยากต่อการสร้างงานศิลปะหน่อย แต่เราก็ไม่ได้ปิดกั้น หากเขาเชื่อว่างานศิลปะจะช่วยเขาจริงๆ เราก็พร้อมที่จะไปด้วยกับเขา”
แบบนี้ทั้งการที่คุณโดมชอบงานศิลปะอยู่แล้ว เวลาคุณโดมเห็นงานศิลปะที่นอกเนื้อจากใน Session การบำบัด คุณโดมรู้สึกว่ามันยากไหมจะตัวคุณโดมเองจะไม่เข้าไปตีความหมายของมันในเชิงจิตวิทยา
“ถามว่ายากไหมผม ผมว่าสําหรับผมไม่ยาก แล้วผมก็อาจจะไม่ได้มีปัญหากับการเข้าไปวิเคราะห์งาน อย่างหนังถ้าดูผมก็พยายามทําความเข้าใจตัวละครว่าเออมันน่าจะเป็นก็อย่างนั้น อย่างนี้หรือเปล่าแต่ผมก็ยังเอ็นจอยนะ อย่างที่บอกว่ามันไม่ได้มีปัญหาสําหรับผมอะเออพอแบบว่าพยายามทําความเข้าใจแล้วไม่ได้มีปัญหา แต่เรามักจะตั้งคไถามเวลาตัวละครเจอสถานะการณ์ต่างๆว่า โห เขาจะรู้สึกยังไงเนี่ย ส่วนภาพวาดผมก็มีการเข้าไปทำความเข้าใจบ้าง แต่ผมทําด้วยความสนุกนะ การตีความภาพในลักษณะนี้ แต่ว่าเจ้าของภาพไม่ได้อยู่กับเรา แล้วเราไม่ได้คุยกับเจ้าของภาพ ต้องเตือนตัวเองว่าเราไม่สามารถรู้ได้หรอกว่าสิ่งที่เราคิดมันจริงแค่ไหน พอเราตระหนักได้ว่าเออแต่สิ่งที่คิดเนี่ยมันอาจจะไม่ใช่ก็ได้ เราก็จะตัดความคิดว่าเราต้องถูกออกไป ทำให้มันสนุกได้สำหรับเรา”
“Painting” ในภาษาอังกฤษ ทั้งที่เป็นคำนาม และมีการเขียนเหมือนเป็นคำกริยา ทำให้หลายคนมีทฤษฏีว่าที่มันออกมาเป็นแบบนี้เพราะภาพวาดไม่มีวันสิ้นสุด ไม่มีจุดจบ คุณสามารถเติมมันได้ตลอดเวลาตัวภาพวาดเองก็เปลี่ยนไปตลอดเวลา แต่การที่จะบอกว่าภาพวาดนี้เสร็จแล้ว มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลงานว่าเสร็จไหม แต่มันขึ้นอยู่กับศิลปินที่วาดว่าเขาพอใจกับมันแล้ว แล้วในมุมมองของนักศิลปะบำบัด และนักจิตวิทยา คุณโดมมีความเห็นอย่างไร
“น่าสนใจนะ พอพูดแบบนี้ ผมนึกถึงสิ่งหนึ่งนะว่า การจะหยุดหรือไม่หยุด การกระทําหรือไม่ทํา หรือว่าการจะเติมหรือไม่เติมนี่มันขึ้นอยู่กับเรา ซึ่งการตัดสินใจนี้มันก็จะส่งผลต่อผลงานเรา ไม่ว่าจะเป็น ถ้าให้โอกาสศิลปินหลายหลายคนว่าแบบเติมได้อีกเขาก็จะเติมถูกไหม แล้วทําให้ว่าไอ้ตัวการจบงานมันคือการตัดสินใจของเราว่าพอแล้วมากกว่า การควบคุมงานทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับตัวศิลปิน สิ่งที่นึกขึ้นได้คือการที่เราเลือกที่จะไม่เติมอะไรลงไปเพิ่มในภาพวาด มันก็เป็นการสร้างสรรค์อย่างหนึ่ง มันก็เป็นวิธีการทํางานศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมันก็จะมีผลต่อสิ่งที่จะสื่อออกไป”
“ถ้ามองในมุมจิตวิทยาเราก็อาจจะสังเกตได้ว่าการกลับมามองภาพวาดเรา แล้วจะเติมหรือไม่เติม มันอาจจะเกิดจากความรู้สึกของเราที่ยังคงอยู่ หรือเปลี่ยนไป จากสถานการณ์ ประสบการณ์ หรือความหมายของชิ้นงานนั้นๆ มันเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ทั้งในเชิงรูปธรรม และนามธรรม ถ้าเราวาดภาพตอนนี้เป็นเรื่องราวของการเลิกกับแฟน ตอนนั้นเศร้า ตอนนั้นโกรธ มันก็จะสื่อแบบนึง แต่เวลาผ่านไป ถ้าเรากลับมามองแล้วรู้ว่ามันอารมณ์ตอนเหตุการณ์นั้นของเรามันเปลี่ยนไป เราก็อาจจะเติมอะไรเข้าไปบางอย่างในภาพที่มันอาจจะชื่อถึงการเรียนรู้ หรือการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ภาพวาดตัวนั้นมันก็ยังเป็นเหตุกาณ์เดียวกัน แค่ได้รับการพัฒนาต่อพร้อมๆ กับการเติมโตของเรา”
เราจะสังเกตได้ว่าในปัจจุบันคนรุ่นใหม่มีความสนใจ และมีการพูดสุขภาพจิตกันมากขึ้น แถมยังมีแนวโน้มที่จะมองหาการบำบัดทางเลือก หรือที่ไม่ใช่การเข้าปรึกษาแบบปกติ คุณโดมมีผู้เข้ารับการบำบัดเป็นคนรุ่นใหม่ หรือเด็กๆ บ้างไหม แล้วส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะเจอปัญหาอะไรอะไรกันบ้าง?
“จริงๆ กลุ่มผู้รับบริการของค่อนข้างกว้างมีตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึง 60กว่า แต่ก็มีคนรุ่นใหม่มากขึ้นเช่นกัน ส่วนเรื่องที่จะเห็นมากในปัจจุบันก็จะเป็นเรื่องซึมเศร้า หรือหมดไฟในการทำงาน เด็กๆสมัยนี้กล้าพูดเรื่อง Mental Health กันมากขึ้นเด็กๆ วันรุ่นก็เข้าปรึกษาหมอกันมากขึ้น ไม่อาบที่จะพูดถึงเรื่องแบบนี้ แล้วถ้าเทียบเป็นกราฟมันก็สูงขึ้นๆ เรื่องๆเหมือนกัน เขินน้อยลง มันเกิดมาจากการลดลงของ Stigma ที่มองว่าการไปรับบริการทางสุขภาพจิตเท่ากับการเป็นบ้าหรือเปล่า ไอ้ความเข้าใจผิดตรงเนี่ยมันก็ลดลงสวนทางกับกราฟอีกเส้นที่พูดไป”
“ด้วยความที่มันเปิดกว้างขึ้นเนาะ สิ่งที่สังเกตเห็นได้คือเขาก็กล้าพูดมากขึ้น วิธีการรับมือเขาก็อาจจะมีการพูดคุยเรื่องพวกนี้กับเพื่อนมากขึ้น หรืออาจจะสื่อสารกับผู้ใหญ่มากขึ้น เวลาลูกหลานมีปัญหาก็อาจจะพูดกับผู้ปกครอง พ่อแม่ ญาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ที่ดีที่ช่วยป้องกันหรือช่วยลดความเสี่ยงที่มันจะพัฒนาหรือว่าไปถึงจุดที่มันหนัก เขาก็มองว่า การที่มาหาผู้เชี่ยวชาญ นักจิตบําบัด นักจิตวิทยามันเป็นเรื่องน่าอาย”
“จริงๆ ไม่อยากใช้คําว่ากล้าเพราะว่าการที่มันอะไรอย่างงี้มันไม่ควรต้องใช้ความกล้า ในการมาปรึกษาปรึกษาหมอหรือปรึกษาคนอื่นอื่นไรเงี้ยมันควรจะเป็น ควรจะเป็นเรื่องธรรมดา”
แล้วคุณโดมอยากฝากอะไรถึงคนรุ่นใหม่ หรือคนที่กำลังอ่าน
“โลกผมว่าโลกสังคมสมัยเนี้ยมันก็อยู่ยากแล้วกันลําบากการประคับประคองชีวิตจิตใจก็เป็นเรื่องยากหาเงินเลี้ยงชีพดูแลพ่อแม่ แต่อย่าลืมตัวเอง อย่าเผลอให้ความสําคัญแค่กับโลกภายนอก ถ้ามันไม่ได้หนักจนเกินไป อย่าลืมความสัมพันธ์กับตัวเอง ที่มันจะมีผลมากๆ กับการใช้ชีวิตเรา”